ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) และข้อมูลตัดขวาง (cross-sectional data)

การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยระยะเวลาที่จัดเก็บ

การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยระยะเวลาที่จัดเก็บข้อมูล

จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลอนุกรมเวลา และข้อมูลตัดขวาง

ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data)

คือ ข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บตามลำดับเวลาต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ เช่น ทุก 7 วัน ทุก 1 เดือน ทุก 1 ปี ฯลฯ ข้อมูลประเภทนี้ช่วยแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่นักเรียนสนใจในช่วงเวลาหนึ่งได้อย่างชัดเจน เช่น การเพิ่มขึ้นของข้อมูล การลดลงของข้อมูล ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการทำโครงงาน หรือ ทำวิจัยในระยะยาว ตัวอย่างข้อมูลอนุกรมเวลา เช่น

  • จำนวนนักเรียนที่ใช้บริการห้องสมุดของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564
  • ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ.2562 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ.2564

ข้อมูลตัดขวาง (cross-sectional data)

ข้อมูลที่บอกลักษณะ สถานะ หรือ สภาพของสิ่งที่นักเรียนสนใจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น

  • จำนวนนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563
  • จำนวนเด็กแรกเกิดของประเทศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2564
  • ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
  • รายงานผลการศึกษาวิชา คณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2563

นักเรียนสามารถศึกษาการแบ่งประเภทของข้อมูลตามหลักเกณฑ์อื่นๆ ตามลิ้งค์นี้ การแบ่งประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล

Scroll to Top